วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

งานวิจัย




สรุปงานวิจัย

ชื่อวิจัย : การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย : ศิริลักษณ์     วุฒิสรรพ์

ความสำคัญของการวิจัย : การจัดประสบการณ์กิจกรรมการเรียนรู้สําหรับเด็กปฐมวัยครูต้องใช้กิจกรรม

การเรียนรู้ที่หลากหลายเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ส่งเสริมให้

เด็กได้เรียนรู้ตามความสนใจ อย่างอิสระ  โดยครูเป็นผู้อํานวยความสะดวกและสนับสนุนให้เด็กเกิด

เรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อพัฒนาตนเองอย่างเหมาะสมต่อไป

กลุ่มตัวอย่าง : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคร้ังนี้เป็นนนักเรียนชาย – หญิงอายุ 5 – 6 ปีที่กําลังศึกษา

อยู่ในระดับช้ันอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนท่ี1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสามแยกสังกัดสํานักงาน

เขตพื้นที่ การศึกษากำแพงเพชร เขต 2 จานวน  15 คน จากห้องที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น

สรุปผลการวิจัย :เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยมีคะแนนทักษะพื้นฐานทาง

คณิตศาสตร์โดยรวมสูงขั้นกว่าก่อนการทดลอง เนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยเป็น

รูปแบบการสอนที่มีการวางแผนในการจัดการเรียนรู้เป็นลําดับขั้นตอนที่ชัดเจน ในข้ันที่1 ข้ันเด็ก

ทบทวนความรู้และเลือกหัวข้อเนื้อหาที่สนใจ เด็กได้สนทนาเล่าประสบการณ์  แลกเปลี่ยนความคิด

เห็นได้เลือกเรียนในหัวข้อที่สนใจ  ได้จําแนกประเภท จัดกลุ่ม นับจํานวนและเปรียบเทียบจํานวน

ของหัวข้อเรื่องที่ต้องการเรียนรู้




สรุปผลการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


 สรุป

      เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ การ เรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่? คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง...   ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ? ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึง เรื่องอะไรบ้าง   เริ่มได้เมื่อไหร่ดี .... การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไปเราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่า เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
                        
                  

                              คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา) การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า) การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี อยู่จริงในชีวิตประจำวัน   กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ   เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและ   ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้

                                                         1.การสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบ
                                      1.1 การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง
                                      1.2 การจัดหมวดหมู่
                                      1.3 การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ

                                                         2.ทางด้านตัวเลข และจำนวน
                                      2.1 การนับจำนวน
                                      2.2 การรู้ค่าของจำนวน
                                      2.3 การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน

                                                        3.ทางด้านมิติสัมพันธ์
                                     3.1 เข้าใจตำแหน่ง
                                     3.2 เข้าใจระยะ
                                     3.3 การเข้าใจทิศทาง
                                     3.4 การต่อชิ้นส่วนภาพ


                                                      4.ทักษะทางด้านเวลา
                                     4.1 การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
                                     4.2 การเรียงลำดับเหตุการณ์
                                     4.3 ฤดูกาล

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                การสอนคณิตศาสตร์นั้นมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน การออกแบบการสอนของครูแต่ละคนก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันบนพื้นฐานของแต่ละช่วงวัย
                การสอนคณิตศาสตร์โดยทั่วไปแล้ว มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
                                1. ให้มีความเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้โจทย์เลขได้
3. มีวิธีการและทักษะในการคิดคำนวณ
4. สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
                                5. สร้างโปรแกรมแตกต่างไปตามรายบุคคล
                อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว การให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์จะช่วยให้เด็กได้รู้จักใช้เหตุผล เพิ่มพูนคำศัพท์ที่ควรรู้จักและควรเข้าใจ โดยเฉพาะจะช่วยให้เด็กเข้าใจความหมาย จากการสืบค้นและการถกเถียงเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องตลอดจนมีความเข้าใจที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่ความเข้าใจเรื่องอื่นๆ ด้วยตนเองได้ เราจะเห็นได้ว่า ในบางครั้งเด็กมีความต้องการที่จะอยู่คนเดียว เพื่อที่จะมีเวลาคิดเงียบๆ แต่ในบางครั้งเด็กก็ต้องการความช่วยเหลือจากครูหรือผู้ใหญ่ ดังนั้น จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาจึงควรมีดังนี้
                                1. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์ และสัญลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น ฯลฯ
                                2. เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก หรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ ฯลฯ
                                3. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น การจดบันทึก การชั่งน้ำหนัก ฯลฯ
                                4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การลำดับ ฯลฯ
                                5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ความอยากรู้ และอยากค้นคว้าเพิ่มเติม
                                6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่16



วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


เนื้อหาที่ได้เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
 -วันนี้อาจารย์พูดถึงเรื่องที่พวกเราจะไปดูงานที่หนองคายและประเทสลาว โดยอาจารย์ได้มีการลงชื่อนักศึกษาที่จะไปดูงาน
-อาจารย์นัดสอบในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 13.00 น.
-อาจารย์แจกกกระดาษ และให้หัวข้อว่า เรียนวิชานี้ ได้ความรู้อะไร ได้ทักษะอะไร และเขียนถึงวิธีสอน









บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15



วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556



*ดูสาธิตการสอน เรื่องอวัยวะ(ร่างกาย)

วันที่ 1
-เด็กรู้จักอวัยวะอะไรบ้างค่ะ < อวัยวะภายนอกของเด็ก ๆ มีอะไรบ้างค่ะ < ครูให้เด็กยกมือตอบ < ครูติดภาพบนกระดาน < ถามเด็กว่าอวัยวะมีกี่ภาพ < ให้เด็กช่วยกันนับ 

วันที่ 2
-ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานนี้ < มีรูปภาพอวัยวะมาให้เด็กสังเกตุแล้วเริ่มเขียน Map < ให้เด็ก ๆ ลองสัมผัสใบหูของเพื่อนข้างๆ แล้วถามว่ามีมีพื้นผิวอย่างไร< ให้เด็กสังเกตุใบหู พร้อมทั้งคุรครูบอกว่า ใบหูของทุกคนมีสีผิวไม่เหมือนกันเพราะขึ้นอยู่กับสีผิว

วันที่ 3 
-ครูนำรุปอวัยวะต่าง ๆ มาให้เด็กดู < อะไรที่หูกับจมูกเหมือนกัน ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานที่เด็กได้รู้จักใบหู < ครูนำรูปตามาติดพร้อมทั้งถามเด็กว่า ตา ทำอะไรได้บ้างค่ะ พร้อมเขียน Map < สรุปอวัยวะของเราที่มีหน้าที่แตกต่างกัน

วันที่ 4
-เด็กค่ะเมื่อวานเรียนเรื่องอะไรไปบ้างค่ะ < มีอวัยวะอะไรบ้าง < ครูมีนิทานมาเล่าให้เด็กฟัง < ถามเนื้อเรื่องนิทานมีประโยชน์อะไรบ้างค่ะ < ครูสรุปหน้าที่กับประโยชน์ใกล้เคียงกัน สุดท้ายอาจสรุปเป็น Map นำเสนอ

วันที่ 5

-ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานนี้ < วิธีดูแลรักษาอวัยวะของร่างกายเรา < ครูใช้คำถาม ถามเด็กว่า ถ้ามือเปลื่อนฝุ่นเรานำมือไปขยี้ตาได้หรือไม่ค่ะ <  ไม่ได้แล้วเราต้องทำอย่างไรค่ะ < เด็ก ๆ ไม่ควรดู TV ใกล้เพราะจะทำให้สายตาสั้น < ครูและเด็กสรุปผลร่วมกัน








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14



วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เนื้อหาที่ได้เรียน / ความรู้ที่ได้รับ 

*ดูสาธิตการสอนของเพื่อน เรื่องกระดุม

วันที่ 1
-หยิบกระดุมขึ้นมาแล้วถามเด็ก<ให้เด็กสำรวจร่างกายตัวเอง<ถามเด็กว่าทรายมั้ยว่ามีกระดุมกี่ชนิด<ให้เด็กเปรียบเทียบกระดุมโลหะกับกระดุมอโลหะ
-ควรมีนิทาน เพลง หรือ คำคล้องจองที่เกี่ยวกับเรื่องเนื้อหาที่สอน
-เวลาเด็กบอกชนิดกระดุมที่เด็กรู้จัก ครูควรจดเป็น My Map
-นำกระดุมใส่ถุงซิปแล้วนำมาให้เด็กได้ดูความหลากหลายของชนิดของกระดุม

วันที่ 2
-ทบทวนความรู้เดิมจากเมื่อวานนี้
-นำกระดุมมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่ากระดุมมีรูปทรงอะไร
-เขียนตารางความสัมพันธ์ของกระดุมแต่ละชนิด

วันที่ 3
-ถามคำถามเด็กว่ากระดุมใช้ทำอะไรได้บ้าง
-ถามเด็กว่ากระดุมที่ครูถืออยู่เป็นรูปอะไร
-นำกระดุมแต่ละชนิดมาติดให้เด็กดู แต่งนิทานเรื่องประโยชน์ของกระดุม

วันที่ 4
-ให้เด็กนำกระดุมที่เด็กชอบ และนำมาใส่กล่อง
-ครูสรุปผลร่วมกันกับเด็ก
-มีการใช้คำถามว่า < เราจะไปซื้อกระดุมได้ที่ไหน < ถ้าเด็ก ๆ มีกระดุม เด็ก ๆ จะเก็บกระดุมไว้ที่ไหน < เด็ก ๆคิดว่ากระดุมทำให้เกิดอาชีพอะไรบ้างค่ะ


งานที่ได้รับมอบหมาย
- My maping มาตรฐานคณิตศาสตร์ลงบล็อค

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13



วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556


-วันนี้อาจารย์นัดประชุมทั้ง 2 ห้อง เพื่อมาคุยงานการแสดงศึกษาศาสตร์ทาเลนต์ โดยสรุปผลได้ดังนี้
มีการแสลง รำ ร้องเพลง โฆษณา การแสดงลิบซิ้ง เต้นประกอบเพลง ละครใบ้ ตลก ผู้กำกับหน้าม้า
- โดยมี สว่างจิตร (รำ), รัตติยา (ร้องเพลง), โฆษณา (นิศาชล,ละมัย) , พิธีกร (ซาร่า,ลูกหยี) , ลิบซิ้งเพลง (จุฑามาศ, นีรชา) , เต้นประกอบเพลง (พลอยปภัส,เกตุวดี,มาลินี) , ละครใบ้ (อัจฉรา,จันทร์สุดา) , ผู้กำกับหน้าม้า (พวงทอง,นฎา)ตลก(ปราณิตา,ดาราวรรณ,ณัฐชา,ชวนชม)

- เรานำเรื่องที่ประชุมกันในวันนี้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนเกี่ยวกับ การสอนผ่านโครงการ หรือ โปรเจค ได้

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12


วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556


เนื้อหาที่ได้เรียน/ความรู้ที่ได้รับ

* ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องขนมไทย ต่อ จากสัปดาห์ที่แล้ว

วันที่ 1 ชื่อขนมไทย
-เด็กรู้จักขนมอะไรบ้างค่ะ < ลองดูจากภาพสิค่ะ< พร้อมนำตัวเลขไปติดกำกับ

วันที่ 2 ลักษณะรูปร่างของขนมไทย
- นับจำนวนขนมทั้งหมด < แยกออก < เรียงขนมจากซ้ายไปขวา < นับใหม่ <.ใส่ตัวเลขกำกับ< ถามเด็กว่าอยากชิมขนมกันมั้ยค่ะ< ครูแบ่งครึ่งขนม < ครูวางเรียงขนมชั้น เม็ดขนุน สลับกัน < ให้เด็ก ๆ ออกมาเรียงตามแบบ

*ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องข้าว

วันที่ 2 ลักษณะของข้าว
- เด็ก ๆ รู้จักข้าวอะไรบ้างค่ะ < รู้จักส่วนประกอบ<ใส่ข้าวสารในภาชนะต่างกัน<เทข้าวสารใส่ภาชนะที่เท่ากันเพื่อพิสูจ< เทข้าวสารใส่ภาชนะเช่นเดิม (การอนุรักษณ์)

วันที่ 4 การเก็บรักษา
- เด็ก ๆ เคยเห็นข้าวเก็บไว้ที่ไหนค่ะ < ทำไมต้องเก็บข้าว<ครูเอารูปที่เก็บข้าวต่าง ๆ มาให้เด็กดู

*ดูสาธิตการสอนของเพื่อน  เรื่องกล้วย

วันที่ 1 ชื่อของกล้วยชนิดต่าง ๆ
-เด็ก ๆ รู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ < เด็ก ๆ ทราบหรือไม่ว่าในตระกล้ามีกล้วยอะไรบ้าง < ไหนลองบอกครูสิค่ะว่ามีกล้วยอะไรบ้าง < เห็นมั้ยค่ะว่ามีกล้วยอะไรบ้าง < ให้เด็ก ๆ หยิบกล้วยมาเรียงแล้วนับ,หยิบภาพเรียงลำดับ < กล้วยทั้งหมด 9 หวี  กล้วยหอม 4 หวี กล้วยน้ำละว้า 3 หวี กล้วยไข่ 2 หวี

วันที่ 2 ลักษณะของกล้วย
- ถามคำถามเพื่อทบทวนความรู้เด็กเมื่อวานนี้ว่า เด็กรู้จักกล้วยอะไรบ้างค่ะ < ครูหยิบกล้วยออกมา 1 หวี ใช้ตัวเลขกำกับ < นำจานออกออกมาให้เด็กๆดูและถามเด็กว่าข้างในจานมีอะไรไหนเด็ก ๆ ลองทายดูสิค่ะ < เปิดโอกาศให้เด็กได้สัมผัสกล้วย < ให้เด็กชิมรสกล้วย< ครูแบ่งครึ่งกล้วยออกครึ่งเรียกเด็ก 2 คน ออกมา ถ้าไม่พอ แบ่งออกเป็น 4 ถ้าไม่พอแบ่งออกมาเป็น 8 กล้วย 1 ผลเด็กชิมได้ 8 คน < สรุปตอนท้ายด้วย My map

วันที่ 3 ข้อควรระวัง
-สร้างเรื่อง พ่อไปตัดกล้วย ใช้สอนเรื่องตำแหน่ง ทิสทาง

วันที 4 การขยายพันธ์
-แบ่งกลุ่มใช้กระดาษตัดเป็นรูปมือ<แต่ละแปลงห่างกัน 1 ฝ่ามือ <ปลูกเว้นละยะเพื่อที่จะขยายพันธ์ <แปลงใครขายพันธ์ต้นกล้วยได้มากที่สุด


งานที่ได้รับมอบหมาย
- ให้นักศึกษาทุกคนไปอ่านงานวิจัยคนละ 1 เรื่องพร้อมสรุปลงบล็อกเกอร์

บั่นทึกการเรียนรู้ครั้งที่11


 วันอังคารที่ 15 มกราคม 2556


-วันนี้อาจารย์แนะนำวิธีการสอนหน้าชั้นเรียนว่าควรพูดควรสอนเด็กอย่างไร

หมายเหตุ * อาจารย์ขอออกก่อนเวลา เนื่องจากติดประชุมด่วน

บันทึกการเรียนรู้ครั้ง ที่10



 วันอังคารที่ 8 มกราคม 2555

- อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานประดิษฐ์ดอกไม้ 

มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดทางคณิตศาสตร์

มาตราฐานที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ >การเข้าใจถึงความหลากหลายของจำนวนและนำจำนวนไปใช้ในชีวิตจริง
-จำนวน > การนับ ค่า ตัวเลข
-การดำเนินการ > วิธีการดำเนินการหรือขั้นตอนต่างๆ

มาตราฐานที่ 2 การวัด > ค่า ปริมาณ น้ำหนัก พื้นที่

มาตราฐานที่ 3 เรขาคณิต
-รูปทรงเรขาคณิต > ทรงกรวย ทรงกระบอก สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
-ตำแหน่ง > ซ้าย ขวา หน้า หลัง
-ทิศทาง > เหนือ ใต้ ออก ตก
-ระยะทาง > ตัวเลข หน่วย เครื่องมือ

มาตราฐานที่ 4 พีชคณิต > เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
-แบบรูป > การเขียนตัวอักษร การเขียนตัวเลข การประกอบรถของเล่น
-ความสัมพันธ์ > ตารางสัมพันธ์ 2 แกน เป็นการเตรียมให้เด็กเรียนรู้เรื่องกราฟ

มาตราฐานที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น > รวบรวมข้อมูลและนำเสนอ
-รวบรวมข้อมูล > สถิติ

มาตราฐานที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ > นำทุกอย่างมาประยุกต์ใช้




สสวท. มี 6 มาตรฐาน


1. จำนวนและการดำเนินการ


2. การวัด - เครื่องมือ/อุปกรณ์


             - ค่า / ปริมาณ  เช่น การวัดอุณหภูมิ การวัดน้ำหนัก การวัดพื้นที่  เป็นต้น

3.เรขาคณิต  - สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  วงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก

                  - การบอกตำแหน่ง เช่น ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นต้น

                  - การบอกทิศทาง เช่น  ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก  ทิศตะวันตก

                  - ระยะทาง  เช่น  ค่า,ใช้เครื่องมือวัด,หน่วย

4.พีชคณิต เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์ (เกมการศึกษาและความสัมพันธ์ 2 แกน) เป็นการสอนเรื่องกราฟให้กับเด็ก

5.การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น (การรวบรวมและนำเสนอข้อมูล)


6. ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

งานที่ได้รับมอบหมาย

-ให้นักศึกษาทุกคนสอบสอนตามแผนของแต่ละคนในสัปดาห์หน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9



วันอังคารที่  1  มกราคม 2556



- ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดปีใหม่ปี พ.ศ.2556


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8



วันอังคารที่  25 ธันวาคม 2555

-วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาค



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7


วันอังคารที่ 18 ธันวาคม 2555

-ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ แต่จะชดเชยในภายหลัง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2555


- วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษา ส่งแผนของหน่วยที่กลุ่มตัวเองสอน [หน่วยเรื่องข้าว]

อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มแล้วนำกล่องที่เตรียมมาต่อกันให้เป็นอะไรก็ได้ตามต้องการ





แบบที่ 1 ให้แต่ละคนนำกล่องมาวางเรียงต่อกันทีละคน โดยห้ามคุยกัน ต่างคนต่างวาง แล้วถามทีละคน ว่ากำลังจะต่ออะไร อยากให้เป็นอะไร

แบบที่ 2 พูดคุยปรึกษากันเพื่อวางแผนในการสร้างผลงานจากกล่อง

แบบที่่ 3 แต่ละกลุ่มนำผลงานมาจัดเป็นนิทรรศการ โดยบรูณาการเข้ากับคณิตศาสตร์ในเรื่องของตำแหน่ง ทิศทาง ประเภท การจัดลำดับ การนับ


งานที่ได้รับมอบหมาย

ใหนักศึกษาประดิษฐ์สื่อคณิตศาสตร์จากแกนกระดาษทิชชูคนละ 3 ชิ้น 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5


วันอังคารที่  4  ธันวาคม  พ.ศ. 2555


กิจกรรมในห้องเรียน


- อาจารย์ดูงานที่สั่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว


- อาจารย์ให้ส่งตัวแทนออกไปเล่าความเรียงหน้าชั้น


- อาจารย์สั่งงานให้สอนเดี่ยว โดยในสมาชิกในกลุ่มตกลงเลือกสอนคนละ 1 วัน แต่คนสอน 20 นาที


ความรู้ที่ได้รับ 


- การจับคู่ภาพถือว่าเป็นคณิตศาสตร์  เนื่องจากจับเป็นคู่มี 2 เป็นการนับ  แต่อาจจะใช้การจับคู่กับตัวเลข  ถ้าต้องการให้ได้คณิตศาสตร์  100 %


- การวาดภาพ คือ การถ่ายทอดประสบการณ์


- ในการวาดภาพควรให้เด็กใช้สีมากกว่าดินสอ เพราะการใช้ดินสอทำให้เด็กมีโอกาสในการลบทำให้เด็กขาดความมั่นใจในตัวเองและไม่รู้จักการแก้ไขปัญหา


- ถ้าจะให้เด็กรับรู้เนื้อหาที่ต้องการจะสอนต้องผ่านนิทาน


- ประสบการณ์ด้านอารมณ์ของเด็ก คือ การแสดงออกทางความรู้สึกและการรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น


- ประสบการณ์ด้านร่างกายของเด็ก คือ น้ำหนัก-ส่วนสูง , การเคลื่อนไหว


- ประสบการณ์ด้านสังคมของเด็ก  คือ การอยู่ร่วมกัน , การทำงานร่วมกับผู้ือื่น และคุณธรรมจริยธรรม


- ประสบการณ์ด้านสติปัญญาของเด็ก คือ การคิด ภาษา

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4



วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน  พ.ศ.2555



- วันนี้ อาจารย์ แจกกระดาษให้เขียนมายแมพหน่วย

  ของตัวเอง
- อาจารย์ออกไปนำเสนองานที่สั่งเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
   หัวข้อที่นำเสนอ
  กลุ่มข้าพเจ้าคือ หน่วย  ข้าว