วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปผลการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


 สรุป

      เมื่อพูดถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ การ เรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่? คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง...   ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ? ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึง เรื่องอะไรบ้าง   เริ่มได้เมื่อไหร่ดี .... การเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไปเราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะสำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่า เจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้ว เรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว
                        
                  

                              คณิตศาสตร์มีอยู่ทุกหนทุกแห่งรอบตัวเรา ในแต่ละวันเด็ก ๆ มีโอกาสที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับ ตัวเลข จำนวน รูปทรงเรขาคณิต การจับคู่ การแยกประเภท ฯลฯ เช่น การตื่นนอน (เรื่องของเวลา) การแต่งกาย (การจับคู่เสื่อผ้า) การรับประทานอาหาร (การคาดคะเนปริมาณ) การเดินทาง(เวลา ตัว เลขที่สัญญาณไฟ ทิศทาง) การซื้อของ (เงิน การนับ การคำนวณ) ฯลฯ เชื่อหรือยังคะว่าคณิตศาสตร์มี อยู่จริงในชีวิตประจำวัน   กิจกรรมใด ๆ ที่เปิดโอกาสให้มีการวางแผน การจัดแบ่งหมวดหมู่ จับคู่ เปรียบเทียบ หรือ   เรียงลำดับ ล้วนมีคุณค่าทั้งสิ้น   การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส ได้กระทำ จากการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและ   ผู้ใหญ่ เรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรม เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่อยู่ไกลตัวการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร  การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้

                                                         1.การสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบ
                                      1.1 การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง
                                      1.2 การจัดหมวดหมู่
                                      1.3 การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ

                                                         2.ทางด้านตัวเลข และจำนวน
                                      2.1 การนับจำนวน
                                      2.2 การรู้ค่าของจำนวน
                                      2.3 การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน

                                                        3.ทางด้านมิติสัมพันธ์
                                     3.1 เข้าใจตำแหน่ง
                                     3.2 เข้าใจระยะ
                                     3.3 การเข้าใจทิศทาง
                                     3.4 การต่อชิ้นส่วนภาพ


                                                      4.ทักษะทางด้านเวลา
                                     4.1 การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา
                                     4.2 การเรียงลำดับเหตุการณ์
                                     4.3 ฤดูกาล

จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                การสอนคณิตศาสตร์นั้นมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน การออกแบบการสอนของครูแต่ละคนก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันบนพื้นฐานของแต่ละช่วงวัย
                การสอนคณิตศาสตร์โดยทั่วไปแล้ว มีจุดมุ่งหมาย ดังนี้
                                1. ให้มีความเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์
2. สามารถแก้โจทย์เลขได้
3. มีวิธีการและทักษะในการคิดคำนวณ
4. สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
                                5. สร้างโปรแกรมแตกต่างไปตามรายบุคคล
                อย่างไรก็ตามสำหรับเด็กปฐมวัยแล้ว การให้เด็กได้รับประสบการณ์ทางด้านคณิตศาสตร์จะช่วยให้เด็กได้รู้จักใช้เหตุผล เพิ่มพูนคำศัพท์ที่ควรรู้จักและควรเข้าใจ โดยเฉพาะจะช่วยให้เด็กเข้าใจความหมาย จากการสืบค้นและการถกเถียงเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องตลอดจนมีความเข้าใจที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่ความเข้าใจเรื่องอื่นๆ ด้วยตนเองได้ เราจะเห็นได้ว่า ในบางครั้งเด็กมีความต้องการที่จะอยู่คนเดียว เพื่อที่จะมีเวลาคิดเงียบๆ แต่ในบางครั้งเด็กก็ต้องการความช่วยเหลือจากครูหรือผู้ใหญ่ ดังนั้น จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาจึงควรมีดังนี้
                                1. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น รู้จักคำศัพท์ และสัญลักษณ์ ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้น ฯลฯ
                                2. เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก หรือการเพิ่ม การลดหรือการลบ ฯลฯ
                                3. เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการในการหาคำตอบ เช่น การจดบันทึก การชั่งน้ำหนัก ฯลฯ
                                4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภท การเปรียบเทียบ การลำดับ ฯลฯ
                                5. เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ความอยากรู้ และอยากค้นคว้าเพิ่มเติม
                                6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น